คณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ โครงการ Mini Entrepreneur ประวัติการทำงาน ภก.สมนึก สุชัยธนาวนิช ผู้อำนวยการกองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
ประวัติการศึกษา ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต ม.เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ พ.ศ.2527. ใบอนุญาตผู้ประกอบโรคศิลปแผนปัจจุบัน สาขาเภสัชกรชั้นหนึ่ง พ.ศ.2528. ประกาศนียบัตร โครงการพัฒนาผู้จัดการระดับสูง (Min Master Management) รุ่นที่ 22/2545 สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารการจัดการสาธารณสุขระดับกลาง รุ่นที่ 20/2549. การศึกษาสถานการณ์งานวิจัยด้านภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษางานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทยและการแพทย์ทางเลือก ย้อนหลังหนึ่งทศวรรษ คือตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2552 มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมและสังเคราะห์งานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ. 2543 – 2552) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโจทย์วิจัย การจัดทำแผนแม่บทการวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการศึกษาค้นคว้าของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทำการรวบรวมบทคัดย่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และวิทยานิพนธ์โดยการสืบค้นจากห้องสมุดสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจากฐานข้อมูลทางอิเล็ทรอนิกส์ ได้ผลงานวิจัยทั้งหมด 1,476 เรื่อง นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยแบ่งขอบเขตการศึกษาออกเป็น 5 ด้าน คือด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการแพทย์พื้นบ้าน ด้านการแพทย์ทางเลือก ด้านสมุนไพร และด้านงานวิจัยเชิงระบบเพื่อการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ แล้วนำมาสรุปสังเคราะห์ภาพรวมเพื่อการพัฒนาในเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยด้านสมุนไพรมากที่สุด รองลงมาคือด้านการแพทย์ทางเลือก การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 53.38, 17.88, 15.98,12.73 ตามลำดับ ในด้านการแพทย์แผนไทยแบ่งงานวิจัย ออกเป็น 6 กลุ่มได้แก่ 1) การศึกษาประวัติศาสตร์และสถานภาพตำราการแพทย์แผนไทย 2)การศึกษาทฤษฎีการแพทย์แผนไทย/ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย /ด้านเวชกรรมไทย 3) การศึกษาองค์ความรู้และประสิทธิภาพการนวดไทย 4) การบริการการแพทย์แผนไทย 5)การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาและ 6) กฏหมายและการคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ในด้านการแพทย์พื้นบ้าน แบ่งงานวิจัยเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) องค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้าน 2)การศึกษาการแพทย์พื้นบ้านชนเผ่าในมิติต่างๆ 3) การศึกษาด้านตำรับตำราและการถ่ายทอดการแพทย์พื้นบ้าน 4)การศึกษาเกี่ยวกับหมอพื้นบ้าน ได้แก่ สถานะบทบาท การดำรงอยู่ การสืบทอดการเป็นหมอกลุ่มเครือข่าย 5) การประยุกต์ใช้ในระบบบริการสุขภาพ 6)การศึกษาความรู้ การสำรวจ การอนุรักษ์ ความหลากหลายของสมุนไพรพื้นบ้าน 7) การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพกับการแพทย์พื้นบ้านในด้านการแพทย์ทางเลือก แบ่งงานวิจัยออกเป็น 7 กลุ่มได้แก่ 1) การให้ความหมายของการแพทย์ทางเลือก 2) พฤติกรรมการใช้บริการ 3) แบบแผนพฤติกรรมการใช้บริการ 4)เหตุผลที่เลือกใช้และไม่ใช้ 5) ความพึงพอของการใช้การแพทย์ทางเลือก 6)ตัวกำหนดพฤติกรรมการใช้และ 7)สถานการณ์การดำรงอยู่การแพทย์ทางเลือก ในส่วนของการศึกษาด้านสมุนไพร แบ่งงานวิจัยออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) งานวิจัยด้านการรวบรวม สำรวจองค์ความรู้ด้านสมุนไพรจากตำรับตำรา คัมภีร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) งานวิจัยด้านพฤติกรรมการใช้สมุนไพร 3) งานวิจัยด้านการจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร 4) งานวิจัยเพื่อหาความรู้ใหม่ โดยทั้ง 4 ด้านนี้จะแบ่งเป็นงานวิจัยด้านยาคน ผลิตภัณฑ์ เกษตรกรรม อาหาร และเครื่องสำอาง ในส่วนของงานวิจัยเชิงระบบเพื่อการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์พบงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท พ.ศ. 2550- 2554 แบ่งเป็น 5 กลุ่มตามยุทธศาสตร์ได้แก่ 1) การสร้างและจัดการความรู้ 2) การพัฒนาระบบบริการ 3) การพัฒนากำลังคน 4) การพัฒนาระบบยาไทยและสมุนไพร 5) การคุ้มครองภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยและสมุนไพร จากข้อค้นพบทั้ง 5 ด้านนำมาสังเคราะห์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ มีข้อสรุปและเสนอแนะ 6 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การสนับสนุนการศึกษาวิจัยโดยให้ความสำคัญกับการจัดการประเด็นปัญหาเฉพาะหน้าที่มีผลกระทบต่อความก้าวหน้าของการสนับสนุนให้เกิดการยอมรับและเติบโตของภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท แนวทางที่ 2 การวิจัยเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายหรือภาพฝันในอนาคต แนวทางที่ 3 การวิจัยที่จำเป็นต้องเร่งด่วนเพื่อให้เท่าทันกับอัตราเร่งของภูมิปัญญาที่อาจสูญหายหรือสูญเสียไปตามกาลเวลา แนวทางที่ 4 งานวิจัยที่เป็นจุดเปราะบางและยังขาดองค์ความรู้ในการปกป้องภูมิปัญญาที่อาจถูกช่วงชิงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แนวทางที่ 5 การวิจัยเชิงระบบเพื่อให้เกิดการนำองค์ความรู้ไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม และแนวทางที่ 6 การวิจัยโดยพิจารณาถึงองค์ความรู้ที่ยังขาดหายไปในอันที่จะใช้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวควรสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 และนโยบายวิจัยของชาติฉบับที่ 8 พ.ศ. 2555-2559 เพื่อเป้าหมายการพึ่งตนเองด้านสุขภาพและความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศต่อไป. บทคัดย่อThe study on the situation of the existing researches on Thai wisdom and traditional health care is a documentary research. The objective of this research is to study, collect and synthesize the existing researches about Thai traditional medicine, Thai folk medicine and alternative medicine from the year 2000 to 2009. The outcome of the research is likely to be used as fundamental data for developing research problems and making a master plan for researching on Thai traditional medicine, Thai folk medicine and alternative medicine. In addition, this research is intended to be used as a reference source for relative studies for both the government and private organizations. The research collected the abstracts from the researches which were published in technical journals and the theses from libraries and electronic data base totaling 1,476 Titles. All of them were analyzed, synthesized and grouped into five main topics namely Thai traditional medicine, folk medicine, alternative medicine, herbal medicine and systematic researches for developing policies and strategy. According to the research, during the past decade, among the selected relative researches, most of them, 53.38 Percent, are researches on herbal medicine. The second most, percent, are researches on alternative medicine, 17.88 percent. The rest are the researches on folk medicine, 15.98 percent and Thai traditional medicine, 12.73 percent. The researches on Thai traditional medicine were broken down into six groups namely 1) The study on the history and status of Thai traditional medicine textbook 2) Theory of Thai traditional medicine/ That traditional medicine wisdom/Thai medicine 3) Knowledge and efficiency of Thai traditional massage 4) The traditional medicine services 5) The studies for research and development and 6) Laws and protection of Thai traditional medical wisdom. The researches on folk medicine were divided into seven groups namely 1) Knowledge on folk medicine 2) Study on tribal groups’ medicine in various dimensions 3) Study on medicine textbook and knowledge transfer 4) Study on folk medical practitioners regarding their roles, existence, knowledge transfer and network groups 5) Application in health care services 6) Study on folk herbal medicine knowledge, exploration, preservation and diversity 7) Study on the relation between health care behavior and folk medicine. The researches on alternative medicine were divided into seven groups namely 1) Definition of alternative medicine 2) Behavior of medical service using 3) Custom behavior of medical service using 4)Reasons for using and not using 5) Satisfaction on alternative medical services 6) Behavior factors 7) Situation and existence of alternative medicine. The researches on herbal medicine were divided into four groups namely 1) Exploration of herbal medicine knowledge from old books and local wisdom 2) Researches on herbal medicine using behavior 3) Researches on herbal medicine knowledge management 4) Researches for creating innovations. The afore-mentioned four main topics of the researches deal with medicine, people, products, agriculture, food and cosmetics. The systematic researches for developing policies and strategy to support the implementation of the national strategy to develop Thai wisdom and Thai traditional health care for the year 2000 to 2009 were divided into five strategic groups namely 1) Knowledge creation and management 2) Service development 3) Personnel development 4) Thai traditional medicine and herbal medicine development 5) Protection of Thai traditional medicine wisdom and herbal medicine. In conclusion, this research proposed six guidelines for the future researches in support of the five-fold strategy namely 1) To deal with the emerging problems which discourage promotion of the acceptance and growth of Thai traditional and health care 2) To focus on the future goals or dreams 3) To study the first priority matters or problems in order to prevent Thai wisdom from vanishing 4) To deal with the weak points and lack of knowledge about protecting the wisdom against legal attempts to steal 5) To do systematic researches on implementation and application of the existing knowledge 6) To take into account the missing knowledge to drive the national strategy and charter regarding the national health system. By the way, the proposed guidelines should comply with the 11th National Economic and Social Development Plan and the 8th National Research Policy for the year 2012 to 2016, to achieve the country’s goal to create health care self-dependency and the strength of the public health services. |
สถาบันฝึกอบรม สำหรับ เจ้าของธุรกิจ Mini Entrepreneur | เกี่ยวกับเรา | ร้านอาหาร | อบรม | เครื่องสำอาง | ครีม | น้ำหอม | BRAND | SMEs | Start Up | สปา | สัมมนา | ติดต่อเรา
Copyright © สถาบันฝึกอบรม สำหรับ เจ้าของธุรกิจ Mini Entrepreneur All rights reserved 2016.